วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

หมีพู

ประวัติหมีพูและเพื่อน

ต้นกำเนิดหมีพูห์ (Winnie-the-Pooh)
ประมาณเดือนสิงหาคม ในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Harry Colebourn สัตวแพทย์ชาวคานาดา ทำงานประจำที่ Fort Garry Horse ใน Winnipeg ได้ถูกส่งตัวไปประจำการที่อังกฤษ ขณะเดินทางไปอังกฤษ ขบวนรถไฟที่เขานั่งไปต้องหยุดจอดที่ White River ใน Ontario เพื่อเปลี่ยนขบวนใหม่ ระหว่างนั้นเขาได้เห็นชายคนหนึ่งกับลูกหมีสีดำ ณ บริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟ โดยที่ลูกหมีตัวนั้นถูกผูกกับที่เท้าแขนของเก้าอี้ที่ชายคนนั้นนั่งอยู่ หลังจากที่ Harry Colebourn พูดคุยกับชายคนนั้นทำให้เขารู้ว่า ชายคนนั้นเป็นนักล่าสัตว์ เขาจึงขอซื้อลูกหมีตัวนั้นในราคา 20 เหรียญสหรัฐ และตั้งชื่อให้มันว่า Winnie เขาได้นำ Winnie ไปอยู่กับเขาที่กองทัพด้วย ซึ่งทุกคนในกองทัพก็ถือว่า Winnie เป็นสัตว์นำโชค
ต่อมาเดือนธันวาคม ในปีเดียวกัน กองทัพที่ี่Harry Colebourn ประจำการอยู่ ต้องย้ายกำลังพลไปที่ประเทศฝรั่งเศส Harry Colebourn ได้ฝาก Winnie ไว้ที่สวนสัตว์ที่กรุงลอนดอน และเขาคาดการณ์ว่าประมาณ 2 สัปดาห์เขาคงจะเสร็จภารกิจ และกลับมารับ Winnie ได้ แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นดังที่เขาคิดไว้ สงครามสงบประมาณปี ค.ศ. 1918 Harry Colebourn กลับมาที่สวนสัตว์อีกครั้งเพื่อมารับ Winnie แต่เขาพบว่า Winnie อยู่อย่างมีความสุข ณ สวนสัตว์แห่งนี้ ทั้งคนเลี้ยงและคนที่มาเที่ยวในสวนสัตว์ รักมันมาก เขาจึงตัดสินใจปล่อยให้ Winnie อยู่ที่สวนสัตว์ตามเดิม และมาเยี่ยม Winnie เสมอเมื่อมีโอกาส จนกระทั่ง Winnie เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1934 ส่วน Harry Colebourn ได้กลับมาประจำการอยู่ที่ทำงานเก่าของเขา Fort Garry Horse ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1921 โดยทำหน้าที่เป็นสัตวแพทย์ ประจำกองทัพ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1947
ในช่วงที่ Winnie ยังมีชีวิตอยู่ในสวนสัตว์ Winnie มีชื่อเสียงมาก อยู่มาวันหนึ่งประมาณปี ค.ศ. 1925 Christoper Robin เด็กชายวัย 5 ขวบได้มาเที่ยวเล่นในสวนสัตว์แห่งนี้ ทันทีที่ Christopher Robin พบกับ Winnie เขาก็เกิดความรักและประทับใจใน Winnie มาก จนถึงกับเปลี่ยนชื่อตุ๊กตาหมีที่ได้จากเพื่อนของพ่อของเขาจาก Edward มาเป็นชื่อ Winnie และความรักของ Christoper Robin ใน Winnie นี่เองที่ไปจุดประกายความคิดของ A.A. Milne (Alan Alexander Milne) พ่อของ Christopher Robin ซึ่งเป็นนักเขียนหนังสือและบทกลอน ให้แต่งนิทานเรื่องเกี่ยวกับ Winnie และเพื่อนขึ้นมา โดยชื่อของหมีในนิทานของเขามีชื่อว่า “Winnie-the-Pooh” โดยคำว่า Winnie มาจากตุ๊กตาหมีของลูกชายของเขาและหมี Winnie ในสวนสัตว์นั่นเอง ส่วนคำว่า Pooh มาจากชื่อของหงส์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณฟาร์มของเขา (Cotchford Farm อยู่ในบริเวณป่า Ashdown ที่ Sussex ประเทศ England)
นิทาน ของเขาจะเล่าถึงการผจญภัยของ Christopher Robin กับ Winnie รวมทั้งสัตว์ที่เป็นเพื่อนของเขาในป่า โดยที่ลักษณะนิสัย ของตัวละครสัตว์ตัวอื่นๆ เช่น Eeyore, Piglet, Tigger, Kanga และ Roo มาจากเหล่าตุ๊กตาสัตว์ของ Christoper Robin ลูกชายของเขา ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครสัตว์ Rabbit และ Owl มาจากสัตว์ที่อาศัยในบริเวณฟาร์ม และภาพประกอบของนิทานทั้งหมด เขียนโดย E. H. Shepard.
ปัจจุบันตุ๊กตาของ Christopher Robin ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Donnell Library Center ซึ่งเป็นห้องสมุดสาขาหนึ่งของ New York Public Library
ประวัติหมีพูห์
หมีพูห์ หรือ วินนี-เดอะ-พูห์ ( Winnie-the-Pooh) เป็นตัวละครหมีที่สร้างขึ้นโดย เอ. เอ. มิลน์ และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคมค.ศ. 1926 ในหนังสือเรื่อง วินนี-เดอะ-พูห์ และ เดอะเฮาส์แอตพูห์คอร์เนอร์ (1928)
เนื้อเรื่องในหนังสือมีลักษณะคล้ายกับ ป่าแอชดาวน์ ในเมือง อีสต์ซัซเซก ในประเทศอังกฤษ โดยชื่อ วินนี มาจากชื่อตุ๊กตาหมีของทหารชาวแคนาดานายหนึ่ง ซึ่งตั้งตามชื่อเมือง วินนีเพก ในประเทศแคนาดา
นอกจากหมีพูห์แล้วเพื่อนในป่าที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิกเลต ทิกเกอร์ และ อียอร์
ต่อมา วอลต์ดิสนีย์ ได้นำวินนี-เดอะ-พูห์ มาจัดทำและได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Winnie the Pooh (โดยไม่มีเครื่องหมายขีด) และหมีพูห์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของดิสนีย์
หมีที่ชื่อว่า วินนี่ เดอะ พูห์ เป็นผลงานสร้างสรรค์ของเอ.เอ.ไมลน์ ( A.A.Miline) นักเขียนชาวอังกฤษ มีชื่อเต็มว่า อลัน อเล็กซานเดอร์ ไมลน์
ตำนานของหมีพูห์เริ่มจากการที่ทหารกองทัพแคนาดาได้นำหมีน้อยตัวหนึ่ง ชื่อว่า วินนี่ เพ็ก แก่ประเทศอังกฤษ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการร่วมรบกันระหว่างกองทัพแคนาดาและอังกฤษในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 1 ( ค.ศ.1914-1918)
หมีน้อยตัวนี้ได้ไปอยู่ที่สวนสัตว์กรุงลอนดอน ในปี 1919 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวลอนดอนมาก รวมถึงหนูน้อยคริสโตเฟอร์ โรบิน ลูกชายของนักเขียนชื่อเอ.เอ.ไมล์น
หนูน้อยคริสโตเฟอร์นำชื่อวินนี่ เพ็ก ไปตั้งชื่อตุ๊กตาหมีตัวโปรดว่า วินนี่ เดอะ พูห์ โดยคำว่า “ พูห์” (Pooh) เป็นชื่อของหงส์ในกวีบทหนึ่ง
หมีพูห์ หรือ วินนี-เดอะ-พูห์ ( Winnie-the-Pooh) เป็นตัวละครหมีที่สร้างขึ้นโดย เอ. เอ. มิลน์ และตีพิมพ์
ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคมค.ศ. 1926 ในหนังสือเรื่อง วินนี-เดอะ-พูห์ และ เดอะเฮาส์แอตพูห์คอร์เนอร์
(1928)
เนื้อเรื่องในหนังสือมีลักษณะคล้ายกับ ป่าแอชดาวน์ ในเมือง อีสต์ซัซเซก ในประเทศอังกฤษ โดยชื่อ วิ
นนี มาจากชื่อตุ๊กตาหมีของทหารชาวแคนาดานายหนึ่ง ซึ่งตั้งตามชื่อเมือง วินนีเพก ในประเทศแคนาดา
นอกจากหมีพูห์แล้วเพื่อนในป่าที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิกเลต ทิกเกอร์ และ อียอร์
ต่อมา วอลต์ดิสนีย์ ได้นำวินนี-เดอะ-พูห์ มาจัดทำและได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Winnie the Pooh (โดยไม่มี
เครื่องหมายขีด) และหมีพูห์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของดิสนีย์
หมีที่ชื่อว่า วินนี่ เดอะ พูห์ เป็นผลงานสร้างสรรค์ของเอ.เอ.ไมลน์ ( A.A.Miline) นักเขียนชาวอังกฤษ มี
ชื่อเต็มว่า อลัน อเล็กซานเดอร์ ไมลน์
ตำนานของหมีพูห์เริ่มจากการที่ทหารกองทัพแคนาดาได้นำหมีน้อยตัวหนึ่ง ชื่อว่า วินนี่ เพ็ก แก่ประเทศ
อังกฤษ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการร่วมรบกันระหว่างกองทัพแคนาดาและอังกฤษในสมัยสงครามโลก
ครั้งที่ 1 ( ค.ศ.1914-1918)
หมีน้อยตัวนี้ได้ไปอยู่ที่สวนสัตว์กรุงลอนดอน ในปี 1919 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวลอนดอนมาก รวมถึง
หนูน้อยคริสโตเฟอร์ โรบิน ลูกชายของนักเขียนชื่อเอ.เอ.ไมล์น
หนูน้อยคริสโตเฟอร์นำชื่อวินนี่ เพ็ก ไปตั้งชื่อตุ๊กตาหมีตัวโปรดว่า วินนี่ เดอะ พูห์ โดยคำว่า “ พู
ห์” (Pooh) เป็นชื่อของหงส์ในกวีบทหนึ่ง
ต่อมาเอ.เอ.ไมลน์ จึงเริ่มเขียนเรื่องราวของวินนี่ เดอะ พูห์ และเพื่อนพ้องของมัน โดยหนังสือวาง
จำหน่ายเมื่อปีค.ศ.1926 หรือ 74 ปีที่แล้ว
กระทั่งปี 1996 ที่ผ่านมา ยอดขายหนังสือสูงถึง 20 ล้านเล่ม แปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 25 ภาษา ใน
ขณะเดียวกันวอลต์ ดิสนีย์ ซื้อลิขสิทธิ์หมีพูห์และนำไปสร้างการ์ตูนบนแผ่นฟิล์มในปี 1996 พร้อมกับ
ผลิตภัณฑ์มากมายก่ายกอง ทำให้หมีพูห์เป็นตัวการ์ตูนยอดนิยมอันดับ 2 ของเด็กอเมริกันรองจากมิกกี้
เม้าส์
หมีพูห์รู้ดีว่าเขาต้องการอะไรเมื่อ “ ท้องเริ่มส่งเสียงร้อง” นั่นคือ น้ำผึ้งไง!
อืม… แต่จะทำอย่างไรหากเขาพบเพียงโถเปล่าที่มีน้ำผึ้งเหนียว ๆ
ติดอยู่เพียงนิดเดียวเท่านั้น
“ งั้นเราก็ต้องช่วยจัดการให้โถเกลี้ยงเร็ว ๆ หน่ะสิ” เจ้าหมีสมองเล็ก (แต่บางครั้งก็ฉลาดล้ำลึก)
ตัวนี้อาจพยายามหลอกเจ้าผึ้งขี้สงสัยว่ าตัวเขาคือเมฆฝนสีดำก้อนใหญ่ หรือถ้าคิดอีกที
การแวะไปบ้านกระต่ายเพื่อหาขนมหวานทานดูจะเป็นเรื่องง่ายกว่า ( และเจ็บตัวน้อยกว่าด้วย)
แต่ไม่ว่าพูห์จะเลือกทำอะไรก็มักจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเสมอ เช่น ติดอยู่ในรูกระต่าย
แคบ ๆ และไม่สามารถขยับเขยื้อนตัวออกมาได้ เป็นต้น แต่ก็นั่นแหล่ะ เขามักจะหาทางออกได้เสมอ
เพราะแม้สมองของเขาจะเต็มไปด้วยนุ่น แต่เพื่อนรักของคริสโตเฟอร์ โรบิน
หรือที่ใคร ๆ เรียกว่าเจ้าหมีแก่จอมงี่เง่าตัวนี้มีจิตใจที่งดงาม
ในชีวิตจริง วินนี่ย์เดอะพูห์ ( หรือที่รู้จักกันในชื่อ เอ็ดเวิร์ดแบร์ ในช่วงแรกเมื่อเขาปรากฏตัวใน
‘When We Were Very Young’ คือ ของเล่นสุดรักสุดหวงของคริสโตเฟอร์ มิลล์
( ลูกชายของเอ. เอ. มิลล์) ซึ่งได้รับเจ้าหมีน้อยตัวนี้เป็นของขวัญครบรอบหนึ่งขวบของเขาใน
ปี 1921
ปัจจุบัน วินนี่ย์เดอะพูห์ถูกจัดแสดงให้แฟน ๆ ของการ์ตูนเรื่องดังกล่าวได้ชมกันที่ Children’s
Reading Room ใน New York Public Library บนถนน West 53rd Street
ผู้ให้เสียงสำหรับตัวการ์ตูนตัวนี้ คือ สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ ซึ่งเป็นนักแสดงชื่อดังและนักพากย์ที่สตูดิโอ
ดิสนี่ย์
ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องวินนี่ย์เดอะพูห์
ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องแรกของทางสตูดิโอที่นำวรรณกรรมเยาวชนอันแสนน่ารักของเอ. เอ. มิลล์
ถ่ายทอดสู่แผ่นฟิล์ม วินนี่ย์เดอะพูห์และผองเพื่อน , คริสโตเฟอร์ โรบิน, เจ้าลาอีออร์,
นกฮูก, แคงก้า และเบบี้รู รวมถึงกระต่ายและโกเฟอร์ ต้องเผชิญกับฝูงผึ้งและรังน้ำผึ้ง
อันแสนหอมหวาน มีการดัดแปลงเรื่องราวดั้งเดิมของเจ้าหมีเท็ดดี้แบร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกตัว
นี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการเพิ่มตัวละครใหม่ นั่นคือ โกเฟอร์
นี่คือภาพยนตร์การ์ตูนพิเศษขนาดสั้นกำกับโดย วูลฟแกงค์ ไรเดอร์แมน
ทีมพากย์เสียงโดย สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ ( พูห์) , บรูซ ไรเดอร์แมน (คริสโตเฟอร์ โรบิน),
ราล์ฟ ไรต์ (อีออร์), โฮวาร์ด มอร์ริส (โกเฟอร์), บาบาร่า ลัดดี้ (แคงก้า), ฮัล สมิธ (นกฮูก),
จูเนียส แมธธิวส์ (กระต่าย) และคลินต์ โฮวาร์ด (รู)
ความยาว 26 นาที เซบาสเตียน เคบอตต์ ผู้ดำเนินเรื่อง และเพลงประกอบภาพยนตร์โดย
ริชาร์ด เอ็ม. และ โรเบิร์ต บี. เชอร์แมน
สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ได้รับคำชมเชยอย่างมากจากการพากย์เสียงเป็นพูห์และเป็นส่วนหนึ่ง
ที่ทำให้หนัง
ประสบความสำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาคต่ออีก 3 ตอน รวมถึงการนำตอนต่อทั้งหมดออกฉาย
รวมกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น